วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราด์เซอร์

ความหมายของเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราด์เซอร์ 

เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะ
สามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรี
กีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่าง
ภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser)
ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่าย
ที่ทำไว้
เบราด์เซอร์ (Browser)

ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลเว็บต่างๆทั้งในรูปแบบของ HTML
(Hypertext Markup language), PHP, CGI, JavaScript ต่างๆเพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูลเพื่อ
ความบันเทิงหรือธุรกรรมอื่นๆเป็นต้น
ในอดีตนั้น Web Browserที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดคงหนีไม่พ้น Web Browser ของ Netscape
ในช่วงนั้น Microsoft ยังไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับ Web Browser มากนัก แต่ต่อมาไม่นาน Internet
ก็ได้มีความเจริญมากขึ้นตามลำดับ Microsoftจึงได้ปล่อย Web Browser ชนิดหนึ่งออกมาสู้กับทาง
Netscape นั้นคือIE (Internet Explorer) ในช่วงแรกของการแข่งขันนั้นทั้ง 2 ได้มีผู้ใช้งานอย่าง
สูสีกันมาตลอดแต่ในที่สุด IE ก็ได้รับชัยชนะไปและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันแต่แล้วในปัจจุบันได้มี
webBrowser น้องใหม่ออกมาอีกหนึ่งตัวนั้นคือMozilla Firefox ซึ่งได้ออกมาในภาพลักษณ์ของ web
browser ที่มีความปลอดภัยสูงและโหลดหน้าwebpage ได้เร็วกว่าทาง Mozilla ได้ออกมาบอกว่าได้มีผู้โหลดโปรแกรมนี้ไปใช้งานมากกว่า ล้านครั้งและมีทีท่าว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆบัดนี้สงคราม web browser ทั้ง 2 กำลังดำเนินไปอย่างดุเดือด 
เวิลด์ไวด์เว็บ
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เว็บ เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งป็นแหล่งของข้อมูลขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผ่านโพรโทคอลที่เรียกว่าเอชทีทีพี (hypertext Transfer Protocol: HTTP) ดังรูปที่ 5.7 นอกจากนี้เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม ได้นิยามคำว่าเว็บคือ จักรวาลของสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่าย และทำให้เกิดองค์ความรู้แก่มนุษยชาติ สำหรับคำที่เกี่ยวข้องกับเวิลด์ไวด์เว็บที่ควรทราบ เช่น
รูปที่ 5.7 เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
  • เว็บเพจ (Web page) เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertext Language : HTML ) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่นได้ โดยเรียกดูผ่านเว็บเบราว์เซอร์
  • เว็บไซต์ (Web site) เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกัน และอยู่ภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกัน
  • เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจ เมื่อผู้ใช้ร้องขอเว็บเพจผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยใช้ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator : URL) ระบุตำแหน่งของเว็บเพจ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งเว็บเพจที่ค้นหาได้กลับไปแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ 
    เกร็ดน่ารู้ 
    เว็บโฮสติง (Web Hosting) เป็นการให้บริการพื้นที่สำหรับสร้าง และจัดเก็บเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือบุคคลทั่วไป เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต 
    การเรียกดูเว็บ เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser)เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่องโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์(Hyperlink) เรียกสั้นๆ ว่า ลิงค์ (link)  เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safari, และ Opera ดังรูปที่ 5.8 
    ที่อยู่เว็บ ในการอ้างอิงตำแหน่งของหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล (Uniform Resource Located: URL) ดังรูปที่ 5.9 ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
  • โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพีและเอฟทีพี (File Transfer Protocol: FTP) ในกรณีของเอชทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้ เนื่องจากถ้าไม่ระบุโพรโทคอล เว็บเบราว์เซอร์จะเข้าใจว่าผู้ใช้มีความประสงค์จะใช้ฌพรโทคอล เอชทีทีพีเพื่อเข้าถึงเว็บเพจ
  • ชื่อโดเมน ใช้สำหรับระบุชื่อโดเมนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ชื่อโดเมน www.ipst.ac.th
  • เส้นทางเข้าถึงไฟล์ (path) ใช้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์
  • ชื่อข้อมูลื่อไฟล์ที่ร้องขอ เช่น ไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วีดิทัศน์ ไฟเสียง 
    ในกรณีที่ยูอาร์แอลระบุเฉพาะชื่อโดเมนโดยไม่ได้ระบุเส้นทางเข้าถึงไฟล์ และ/หรือชื่อไฟล์ มีความหมายว่าให้เข้าถึงหน้าหลัก หรือโฮมเพจ (home page) ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการเข้าถึงชื่อไฟล์ที่กำหนดไว้ เช่น index.html, main.phpและ default.asp ตัวอย่างโฮมเพจดังรูปที่ 5.10 
    โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ชเอนจิน (search engines) ใช้สำหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ โดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ (keyword) เพื่อนำไปค้นหาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคำหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิงได้อย่างรวดเร็วโปรแกรมค้นหาสามารถให้บริการค้นหาข้อมูลตามประเภท หรือแหล่งของข้อมูล เช่น ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพ วีดิทัศน์ เสียง ข่าว แผนที่ หรือบล็อก โปรแกรมค้นหาแต่ละโปรแกรมอาจใช้วิธีที่แตกต่างกันในการจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจกับคำหลักที่ระบุ โดยเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกับคำหลักมากที่สุดจะอยู่ในอันดับบนสุด ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา เช่น Ask, AltaVista, Bing, Excite, Google และ Yahoo ดังรูปที่ 5.11 
  • เกร็ดน่ารู้
    เมตาเสิร์ชเอนจิน (metasearchenging) 
    เป็นโปรแกรมค้นหาที่ไม่มีการรวบรวมเว็บเพจไว้เป็นฐานข้อมูลของตนเอง แต่ค้นหาจากฐานข้อมูลของโปรแกรมค้นหาอื่น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการที่สุด จากโปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยอาจแสดงผลลัพธ์รวมจากทุกโปรแกรมค้นหาไว้ในชุดเดียวกัน และตัดรายการผลลัพธ์ที่ซ้ำซ้อนกันออกไป หรืออาจแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรมค้นหาแยกเป็นคนละชุด ซึ่งอาจมีรายการที่ซ้ำซ้อนกันปรากฏอยู่ ตัวอย่างของเมตาเสิร์ชเอนจิน เช่น Dogpile, Mamma และ Vivismo
  • ตัวดำเนินการในการค้นหาเพื่อให้การค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถใช้ตัวดำเนินการในการค้นหา (search engine operators) ประกอบกับคำหลัก จะช่วยให้ได้ผลลัพธืในการค้นหาที่ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างตัวดำเนินการในการค้นหา แสดงดังตารางที่ 5.2 
    เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีบักษณะให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลและสารสนเทศตามที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียว ไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และมีรูปแบบการใช้งานไม่หลากหลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อจำกัดหลายประการ เช่น ความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายช่องทางในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีในการพัฒนาเว็บ อีกทั้งจำนวนผู้สร้างเว็บมีอยู่เป็นจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าถึงเว็บเพื่อบริโภคข้อมูลและสารสนเทศต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสสนุนการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บเพจ เช่น การโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ ความคิดเห็น การจัดอันดับ ด้วยความแตกต่างที่พบได้เหล่านี้ จีงได้มีการเรียกเว็บประเภทนี้ว่าเว็บ 2.0 (Web 2.0)ลักษณะเด่นที่พบในเว็บ 2.0 ที่แตกต่างในเว็บ 1.0 เช่น มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่านเว็บไซต์ มีการพัฒนาความร่วมมือแบบออนไลน์ มีการแบ่งปันข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพิ่มมากขึ้น 
    เกร็ดน่ารู้ 
    ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) เป็นผู้คิดค้นเวิลด์ไวด์เว็บ ได้ให้แนวคิดของเว็บรุ่นที่สาม หรือเว็บ 3.0 ว่าเป็นการสร้างเว็บเพจที่สามารถให้คอมพิวเตอร์นำไปใช้ประมวลผลได้อย่างเป็นระบบเดียวกัน ทำให้การค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น และการจัดการความรู้ (knowledge management) เป็นจริงมากขึ้น ต่างจากเว็บเพจในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถประมวลผล หรือค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามได้ตรงๆ ต้องสร้างซอฟต์แวร์เฉพาะกิจไปจัดการ แบบต่างคนต่างคิด ต่างทำตามแนวคิดของตน ไม่เป็นระบบเดียวกัน               
    ทั้งนี้ W3C ซึ่งเป็นองค์กรหลักระดับโลกที่ดำเนินงานด้านงานเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ ได้นำเสนอให้ใช้อาร์ดีเอฟ (Resource Description Framework: RDF) มาติดตั้งโดยใช้เทคโนโลยีเอ็กซ์เอ็มแอล (Extensible Markup Language:  XML) ทำให้โครงสร้างของเว็บเพจเปลี่ยนไปจากเว็บรุ่นที่สอง หรือเว็บ 2.0 ในปัจจุบันที่ใช้เอชทีเอ็มแอล (Hypertext  Markup Language: HTML) เป็นพื้นฐาน มาเป็นเอ็กซ์เอ็มแอล และอาร์ดีเอฟ ทำให้สามารถสร้างซอฟต์แวร์ประมวลผลเชิงความหมายอย่างมีระบบ และอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน ในท้ายที่สุดเว็บ 3.0 จะมีลักษณะเป็นเว็บเชิงความหมาย (semantic web) ที่สามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ และเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้โดยให้ผู้ใช้เลือกแทนการค้นหาข้อมูล จากคำหลักอย่างตรงไปตรงมา

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น